เมนู

พรรณนาคาถาว่า ตโป จ


บัดนี้ จะพรรณนาในคาถาว่า ตโป จ นี้. ชื่อว่า ตปะ เพราะเผา
นาปธรรม. ความประพฤติอย่างพรหม หรือความประพฤติของพรหม ชื่อว่า
พรหมจรรย์ ท่านอธิบายว่า ความประพฤติอย่างประเสริฐ. การเห็นอริยสัจ
ทั้งหลาย ชื่อว่า อริยสจฺจาน ทสฺสนํ. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า อริยสจฺจานิ
ทสฺสนํ
ดังนี้ก็มี. ชื่อว่า นิพพาน เพราะออกจากวานะตัณหาเครื่องร้อยรัด
การทำให้แจ้งชื่อว่า สัจฉิกิริยา. การทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน ชื่อว่านิพพาน-
สัจฉิกิริยา.
คำทีเหลือ มีนัยที่กล่าวมาแล้วทั้งนั้นแล นี้เป็นการพรรณนาบท
ส่วนการพรรณนาความ พึงทราบดังนี้ อินทรียสังวรชื่อว่า ตปะ
เพราะเผาอภิชฌาและโทมนัสเป็นต้น หรือความเพียรชื่อว่า ตปะ เพราะเผา
ความเกียจคร้าน บุคคลผู้ประกอบด้วยตปะเหล่านั้น ท่านเรียกว่า อาตาปี
ตปะนี้นั้น พึงทราบว่าเป็นมงคล เพราะเป็นเหตุละอภิชฌาเป็นต้น และได้ฌาน
เป็นอาทิ.
ชื่อว่าพรหมจรรย์เป็นชื่อของ เมถุนวิรัติ สมณธรรม ศาสนาและ
มรรค. จริงอย่างนั้น เมถุนวิรัติ ท่านเรียกว่า พรหมจรรย์ ได้ในประโยค
เป็นต้นว่า พฺรหฺมจริยํ ปหาย พฺรหฺมจารี โหติ ละเมถุนวิรัติ เป็นพรหม.
จารี. สมณธรรม เรียกว่าพรหมจรรย์ ได้ในประโยค เป็นต้น อย่างนี้ว่า
ภควติ โน อาวุใส พฺรหฺมจริยํ วุสฺสติ ผู้มีอายุ เราอยู่ประพฤติสมณ-
ธรรม ในพระผู้มีพระภาคเจ้า.
ศาสนา เรียกว่าพรหมจรรย์ ได้ในประโยคเป็นต้น อย่างนี้ว่า
ตาวาหํ ปาปิม ปรินิพฺพายิสสามิ ยาว เม อิทํ พฺรหฺมจริยํ น
อิทฺธญฺเจว ภวิสฺสติ ผีตญฺจ วิตฺถาริกํ พาหุชญฺญํ
ดูก่อนมาร ตราบ

ใดศาสนานี้ของเรา จักยังไม่มั่นคงเจริญแพร่หลายรู้กันมากคน เราก็จักยัง
ไม่ปรินิพพานตราบนั้น.
มรรคเรียกว่า พรหมจรรย์ ได้ในประโยคเป็นต้นอย่างนี้ว่า อยเมว
โข ภิกฺขุ อริโย อฏฺฐงฺคิโก มคฺโค พฺรหฺมจริยํ เสยฺยถีทํ สมฺมา-
ทิฏฺฐิ
ดูก่อนภิกษุ อริยมรรคมีองค์ 8 คือ สัมมาทิฏฐิเป็นต้น เป็นพรหม
จรรย์. แต่ในที่นี้ พรหมจรรย์แม้ทุกอย่างไม่เหลือ ย่อมควร เพราะมรรค
ท่านสงเคราะห์ด้วยอริยสัจจานทัสสนะข้างหน้าแล้ว. ก็พรหมจรรย์นั่นนั้น พึง
ทราบว่าเป็นมงคล เพราะเป็นเหตุประสบผลวิเศษนานาประการ นั้นสูง ๆ.
การเห็นมรรค โดยตรัสรู้อริยสัจ 4 ที่กล่าวไว้แลัวกุมาร
ปัญหา ชื่อว่า อริยสัจจานทัสสนะ. อริยสัจจานทัสสนะนั้น ตรัสว่าเป็น
มงคล เพราะเป็นเหตุล่วงทุกข์ในสังสารวัฎ.
อรหัตผล ท่านประสงค์เอาว่า นิพพาน ในที่นี้. ชื่อว่า นิพพาน-
สัจฉิกิริยา
กระทำให้แจ้งในพระนิพพาน. จริงอยู่อรหัตผลแม้นั้น ท่าน
กล่าวว่านิพพาน เพราะออกจากตัณหา ที่เข้าใจกันว่า วานะ เพราะร้อยไว้ใน
คติ 5. การถึงหรือการพิจารณาพระนิพพานนั้น เรียกว่า สัจฉิกิริยา แต่การ
ทำให้แจ้งพระนิพพานนอกนี้สำเร็จได้ด้วยการเห็นอริสัจ 4 นั่นเเล ด้วยเหตุ
นั้น การเห็นอริยสัจนั้น ท่านจึงไม่ประสงค์ในที่นี้. การทำให้แจ้งพระนิพพาน
นั้น พึงทราบว่าเป็นมงคล เพราะเป็นเหตุอยู่เป็นสุขในปัจจุบันเป็นต้น ด้วย
ประการฉะนี้.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสมงคลแห่งคาถานี้ไว้ มงคล คือ ตปะ 1
พรหมจรรย์ 1 อริยสัจจานทัสสนะ 1 และนิพพานสัจฉิกิริยา 1 ด้วยประการ
ฉะนี้. ก็ความที่มงคลเหล่านั้นเป็นมงคล ได้ชี้แจงไว้ในมงคลนั้น ๆ แล้วทั้ง
นั้นแล.
จบพรรณนาความแห่งคาถานี้ว่า ตโป จ

พรรณนาคาถาว่า ผุฏฺฐสฺส โลกธมฺเมหิ


บัดนี้ จะพรรณนาในคาถาว่า ผุฏฺฐสฺส โลกธมฺเมหิ บทว่า
ผุฏฺฐสฺส ได้แก่ ถูกแล้ว ต้องแล้ว ประสบแล้ว. ธรรมทั้งหลายในโลก
ชื่อว่า โลกธรรม. ท่านอธิบายว่า ธรรมทั้งหลาย จะไม่หวนกลับตราบเท่าที่
โลกยังดำเนินไป. บทว่า จิตฺตํ ได้แก่ มโน มานัส. บท ว่า ยสฺส ได้แก่
ของภิกษุใหม่ ภิกษุปูนกลาง หรือภิกษุผู้เถระ. บทว่า น กมฺปติ ได้แก่
ไม่หวั่น ไม่ไหว. บทว่า อโสกํ ได้แก่ ไร้ความโศก ถอนโศกศัลย์เสีย
แล้ว. บทว่า วรชํ ได้แก่ ปราศจากละอองกิเลส กำจัดละอองกิเลสแล้ว.
บทว่า เขมํ ได้แก่ ไม่มีภัย ไร้อุปัทวะ. คำที่เหลือมีนัยที่กล่าวไว้แล้วแล
นี้เป็นการพรรณนาบท.
ส่วนการพรรณนาความ พึงทราบดังนี้ จิตของผู้ใด อันโลกธรรม 8
มี มีลาภ ไม่มีลาภ เป็นต้น ถูกต้องครอบงำแล้ว ย่อมไม่หวั่น ไม่ไหว ไม่
กระเทือน ชื่อว่า จิตของผู้ใดอันโลกธรรมกระทบแล้วไม่หวั่นไหว จิตนั้นของ
ผู้นั้นพึงทราบว่าเป็นมงคล เพราะนำมาซึ่งความเป็นผู้สูงสุดเหนือโลก ซึ่ง
ธรรมไรๆ ให้หวั่นไหวไม่ได้.
ถามว่า ก็จิตของใคร ถูกโลกธรรมเหล่านั้นกระทบแล้วไม่หวั่นไหว.
ตอบว่า จิตของพระอรหันตขีณาสพ ไม่ใช่จิตของใครอื่น. จริงอยู่ พระผู้
มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดังนี้ว่า
เสโล ยถา เอกกฺฆโน เวเตน น สมีรติ
เอวํ รูปา รสา สทฺทา คนฺธา ผสฺสา จ เกวลา
อิฏฺฐา ธมฺมา อนิฏฺฐา จ นปฺปเวเธนฺติ ตาทิโน
ฐิตํ จิตฺตํ วิปฺปมุตฺตํ วยญฺจสฺสานุปสฺสติ.